ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปแต่ละบุคคล
(โปรดสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ดูแลเว๊บไซด์)
ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปแต่ละบุคคล
(โปรดสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ดูแลเว๊บไซด์)
(ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละบุคคล)
สารอาหาร GTF มีส่วนช่วยบำรุงผู้ป่วยแผลเรื้อรังจากเบาหวานได้อย่างไร
1. ช่วยควบคุมสารอาหารต่างๆ ได้แก่ น้ำตาล กรดอะมิโน และกรดใขมัน ให้เข้าสู่เซลล์ได้ตามปกติ และทำให้การเผาผลาญสารอาหารเหล่านี้เป็นไปตามปกติ ทำให้เซลล์ต่างๆ ได้รับพลังงานและสารอาหารตามปกติ ทำให้ช่วยฟื้นฟูสภาพเซลล์ต่างๆได้ แผลต่างๆ ที่ปลายมือปลายเท้าก็จะดีขึ้น
2.เมื่อใขมันที่อยู่ในเส้นเลือดถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ได้ตามปกติ จึงทำให้ปริมาณใขมันในเลือดลดลง ทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น เซลล์ประสาทต่างๆจึงได้รับสารอาหารมากขึ้น ช่วยฟื้นฟูสภาพเซลล์ให้คืนกลับมา ทำให้ความรู้สึกตัวด้านต่างๆ ดีขึ้นตามไปด้วย
3.เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ส่งผลให้ความสามารถในการนำออ๊กซิเจนของเม็ดเลือดแดงไปสู่เซลล์ที่เกิดบาดแผลทำได้ดีขึ้น ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการซ่อมแซมเซลล์ที่เกิดแผลมากยิ่งขึ้น
4.และ ยังช่วยลดการติดเชื้อที่แผลได้ เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดลงทำให้น้ำตาลที่เป็นอาหารของเชื้อ จุลินทรีย์บริเวณแผลลดลงไปด้วย
สนใจสั่งซื้อสินค้า โทร.089-694-2654 ID LINE : @gtfhealthy
โรคเบาหวานกับการตัดขา
เท้าชา (Neuropathy)
อาการเท้าชาเป็นโรคแทรกซ้อนของหลอดเลือดขนาดเล็กต่อปลายประสาท ในช่วงต้นอาจรู้สึกชาเล็กน้อย มีอาการเจ็บ เหมือน้ำร้อนลวก อาจรู้สึกคล้ายมีเข็มตำที่ฝ่าเท้า เวลาเดินรู้สึกเหมือนเดินบนกรวดทราย เมื่อเป็นนานเข้า อาการเจ็บจะหายไปกลายเป็นอาการชา
บางคนอาจคิดว่าอาการเท้าชาไม่มีอะไรน่ากลัว แต่ความเป็นจริงแล้วเท้าชาคือที่มาของแผลเรื้อรังที่ฝ่าเท้า การเกิดแผลเริ่มต้นที่เท้าแห้ง ขาดความชุ่มชื้น เนื่องจากประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมต่อมเหงื่อเสียไป จึงเกิดหนังแห้งและด้านแข็งใต้ฝ่าเท้า (Callous) หนังด้านแข็งนี้นานไปจะกลายเป็นไตแข็งใต้ฝ่าเท้า เสมือนว่ามีหินอยู่ใต้เท้าตลอดเวลา
ปกติแล้วเมื่อเราเดินย่ำบนหินจะรู้สึกเจ็บและโดยธรรมชาติจะหลีกเลี่ยงการย่ำซ้ำลงบนจุดๆนั้น แต่สำหรับคนไข้เบาหวานที่มีอาการเท้าชา จะไม่รู้สึกเจ็บและย่ำซ้ำลงที่เดิมจนกระทั่งไตแข็งนั้นกดทับเข้าด้านในเท้า ทำให้เกิดแผลที่ฝ่าเท้าซึ่งอยู่ใต้หนังที่ด้านหนา(Foot Ulcer) มองจากข้างนอกไม่เห็นว่ามีแผล และผู้เป็นเบาหวานเองไม่รู้สึกเจ็บ
การลงน้ำหนักบนแผลตลอดเวลานี้ทำให้แผลไม่หาย เกิดเป็นแผลเรื้อรังขอบแผลที่แห้งแข็งทำให้เนื้อเยื่อไม่สามารถงอกออกมาปิดแผลได้
ดังนั้นการดูแลรักษาแผลจึงจำเป็นต้องหมั่นพบผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเท้า เพื่อตัดขอบแผลที่แข็งออก นอกจากนั้นต้องเลือกใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองช่วยกระจายน้ำหนักไม่ให้ลงบริเวณแผล
หากการดูแลแผลทำได้ดีและหลอดเลือดที่มาเลี้ยงขายังปกติดี แผลจะหายได้ แต่หากดูแลไม่ดี แผลเรื้อรังมีโอกาสสูงที่จะเกิดการติดเชื้อซึ่งนำไปสู่การตัดขาในที่สุด
เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอ (Vasculopathy)
การเป็นเบาหวานเป็นระยะเวลานานและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือด ระดับความดันโลหิตไม่ดี จะทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายอักเสบและตีบตัน (Atherosclerosis) หลอดเลือดที่ตีบตันที่เท้าในคนไข้เบาหวานที่มีแผล จะทำให้เกิดเท้าเน่าดำและติดเชื้อ
นอกจากนั้นจะทำให้ยาปฎิชีวนะไม่สามารถถูกส่งไปที่แผลได้เต็มที่ ทำให้การรักษาอาการติดเชื้อไม่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด การรักษาแผลเบาหวานในคนไข้ที่มีเลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอนั้นต้องอาศัยการผ่าตัดเพื่อตัดต่อเส้นเลือด(Distal Bypass Surgery) สร้างทางเดินให้เลือดไปเลี้ยงเท้าและเกิดการสมานของแผลให้ได้ และช่วยให้ยาปฏิชีวนะสามารถเดินทางไปถึงบริเวณแผลได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามคนไข้บางรายอาจไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสำหรับการผ่าตัดเพื่อตัดต่อเส้นเลือด ในกรณีนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการดูแลแผลเบาหวานสามารถเลือกใช้วิธีอื่นๆ ได้ เช่น การใช้เครื่องมือถ่างขยายหลอดเลือด(Stent,Balloon) การใช้เครื่องไฮเปอร์แบริก ซึ่งเป็นเครื่องอัดออกซิเจนบริสุทธิ์เข้าในร่างกาย ออกซิเจนช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น หรือแม้กระทั่งการใช้หนอนช่วยกำจัดเนื้อตาย เป็นต้น
ทั้งนี้การเลือกใช้วิธีการรักษาต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ป้องกันตัดขา
วิธีป้องกันการตัดขาที่ดีที่สุด คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระดับไขมันในเลือด ระดับความดันโลหิต ให้ใกล้เคียงคนปกติมากที่สุดเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทุกประเภทของเบาหวานตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเป็นโรคแทรกซ้อนของระบบหลอดเลือดขนาดเล็ก(ตา ,ไต ,ปลายประสาท) หรือระบบหลอดเลือดใหญ่ (สมอง,หัวใจ)
นอกจากนั้นยังป้องกันได้ด้วยการเรียนรู้เรื่องอันตรายของแผลที่เท้า รู้จักการหมั่นดูแลเท้า และรีบมาพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เมื่อเกิดแผลที่เท้าขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผลเล็กแค่ไหนก็ตามแลพะไม่ว่าเท้าจะชาหรือไม่ก็ตาม
เนื่องจากผู้เป็นเบาหวานมีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป และท้ายสุดต้องงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
ป้องกันการเกิดแผลซ้ำ
เป็นเรื่องพบได้บ่อยที่ผู้เป็นเบาหวาน เป็นเบาหวานมานาน มีอาการเท้าชา และมีแผลที่เท้า รักษาแผลหายแล้ว แต่ยังเกิดแผลใหม่ซ้ำที่เดิม ต้องเริ่มต้นรักษากันใหม่อยู่เรื่อยไป เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะผู้เป็นเบาหวานเหยียบย่ำลงน้ำหนักในบริเวณเดิม
ดังนั้นการทำรองเท้าที่เหมาะสมรองเท้าที่ช่วยกระจายน้ำหนักไม่ให้ลงบนบริเวณเดิมที่เสี่ยงต่อการเกิดแผล จะช่วยป้องกันการเกิดแผลซ้ำได้ นี่คือความสำคัญของช่างทำรองเท้า ซึ่งต้องทำงานร่วมกับทีมดูแลเบาหวาน
สนใจสั่งซื้อสินค้าโทร. 089-841-5309 LINE ID :redbike2014
|
- การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
- ชนิดของโรคเบาหวาน
- อาการโรคเบาหวาน
- โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
- ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ภาวะเลือดเป็นกรด
- แผลเรื้อรังจากเบาหวาน
- เบาหวานกับปลายประสาทอักเสบ
- เบาหวานกับโรคหัวใจ ความดัน และหลอดเลือด
- เบาหวานขึ้นตา
- เบาหวานกับโรคไต
- เบาหวานกับเซ็กเสื่อม
- เบาหวานกับไขมัน
- เบาหวานกับการตัดขา
- เบาหวานกับพุง
- เบาหวานกับบุหรี่
- ภาวะดื้อต่ออินซูลินและเบาหวาน
- เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
- หลักโภชนาการสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
- การควบคุมอาหารผู้ป่วยเบาหวาน
- อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
- การออกกำลังกายผู้ป่วยเบาหวาน
- GTF ช่วยให้การควบคุมเบาหวานเป็นเรื่องง่ายๆได้อย่างไร