เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
เป้าหมายคือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีสำหรับคนที่เป็นเบาหวานต้องควบคุมให้ได้ทั้งก่อนและหลังอาหาร
ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารตอนเช้าควรอยู่ประมาณ 90-110มก./ดล. ส่วนหลังอาหารต่ำหว่า 180มก./ดล. หากสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของโรคเท่าไร ก็จะช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของโรคและทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดง่ายขึ้นเท่านั้น
ไม้บรรทัดวัดคุณภาพการควบคุมโรคเบาหวาน แม้เป้าหมายในการควบคุมโรคเบาหวานคือการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
แต่การวัดระดับน้ำตาลในเลือดไม่ใช่ตัววัดคุณภาพการควบคุมที่ดี เพราะระดับน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขึ้นกับอาหารที่เพิ่งรับประทานเข้าไป หากก่อนตรวจไม่รับประทานอะไรเลย ระดับน้ำตาลที่วัดได้อาจดีเยี่ยม ทั้งๆ ที่ปกติแล้วระดับน้ำตาลสูงมากเพราะกินขนมหวานตลอดเวลา
ไม้บรรทัดวัดคุณภาพการควบคุมโรคเบาหวานที่ดีคือการวัดระดับฮีโมโกลบินเอวันซี(Hemoglobinหรือ HbA1C) ซึ่งเป็นสารชนิดหนึ่งในเลือด เกิดจากการที่น้ำตาลกลูโคสไปเกาะที่โมเลกุลของฮีโมโกลบิน เป็นสัดส่วนโดยตรงกับระดับน้ำตาลในเลือด นั่นแสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดยิ่งสูงเท่าไร อัตราการแปลงตัวจากฮีโมโกลบินไปเป็น HbA1C จะเร็วขึ้นเท่านั้น
และเนื่องจาก HbA1C จะอยู่ในเลือดนานประมาณ 3 เดือน การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่าเรื่อยๆจะส่งผลให้HbA1Cสะสมในเลือดสูงขึ้นตามกันไป HbA1C มีชื่อรียกทั่วไปว่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยหรือระดับน้ำตาลสะสม
การแจ้งผลการวัด HbA1C ใช้การแจ้งเป็นเปอร์เซ็นต์ของฮีโมโกลบินในเลือดทั้งหมด คนปกติที่ไม่เป็นเบาหวานระดับ HbA1C จะไม่เกิน 6% แต่สำหรับคนที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ HbA1C อาจขึ้นสูงถึง 15-16%
การวัดระดับ HbA1C ช่วยทำให้มองเห็นภาพของคุณภาพการควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ชัดเจน เพราะไม่ใช่ค่าที่ขึ้นลงจากอาหารที่รับประทานแต่ละมื้อเช่นการวัดระดับน้ำตาลในเลือด
การแปลค่า HbA1C ระดับ HbA1C ที่สูงกว่า 8% สะท้อนให้เห็นทั้งระดับน้ำตาลก่อนและหลังอาหาร แต่เมื่อระ ดับ HbA1C ลงมาต่ำกว่า8%จะสะท้อนระดับน้ำตาลหลังอาหารเท่านั้น
ดังนั้นผู้ที่ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้าแล้วปกติดีแต่ระดับHbA1Cยังสูงอยู่ แสดงว่ายังควบคุมอาหารได้ไม่ดี ทำให้ระดับน้ำตาลหลังอาหารสูง
หากสามารถควบคุม HbA1C ให้ลงมาต่ำกว่า7%จะสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆของเบาหวานได้ ดังนั้นเป้าหมายของการควบคุมเบาหวานจึงต้องการให้ HbA1C ลดลงมาต่ำว่า7%แต่ถึงแม้จะลดระดับลงไม่ถึง 7%
ทุกๆ1%ของHbA1C ที่ลดลงสามารถลดโรคแทรกซ้อน ได้ถึง 21%
นอกจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติทั้งก่อนและหลังอาหาร เพื่อควบคุมให้ระดับHbA1C ลดลงแล้ว คนเป็นเบาหวานยังต้องใส่ใจควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติให้มากที่สุดพร้อมกับลดความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอท จึงจะป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สนใจสั่งซื้อสินค้าโทร. 089-694-2954 LINE ID :@gtfhealthy
|
- การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
- ชนิดของโรคเบาหวาน
- อาการโรคเบาหวาน
- โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
- ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ภาวะเลือดเป็นกรด
- แผลเรื้อรังจากเบาหวาน
- เบาหวานกับปลายประสาทอักเสบ
- เบาหวานกับโรคหัวใจ ความดัน และหลอดเลือด
- เบาหวานขึ้นตา
- เบาหวานกับโรคไต
- เบาหวานกับเซ็กเสื่อม
- เบาหวานกับไขมัน
- เบาหวานกับการตัดขา
- เบาหวานกับพุง
- เบาหวานกับบุหรี่
- ภาวะดื้อต่ออินซูลินและเบาหวาน
- เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
- หลักโภชนาการสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
- การควบคุมอาหารผู้ป่วยเบาหวาน
- อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
- การออกกำลังกายผู้ป่วยเบาหวาน
- GTF ช่วยให้การควบคุมเบาหวานเป็นเรื่องง่ายๆได้อย่างไร