• ช่วยเพื่อนผมด้วย
  • เตรียมงานศพพ่อเถอะลูก


 



















 

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter

การออกกำลังกายผู้ป่วยเบาหวาน

        การออกกำลังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

      เมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีการควบคุมอาหารอยู่เป็นประจำแล้ว หากต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้วจำเป็นต้องมีการออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย  โดยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง  และแต่ละครั้ง ควรออกแรงอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป  โดยผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ควรออกกำลังกายแบบต่อเนื่องในระดับเหนื่อยปานกลางอย่างน้อย 30 นาทีให้ได้ทุกวัน  ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้  แต่ทั้งนี้อาจ ต้องใช้เวลา 4-6 เดือนจึงจะเห็นผลวิธีออกกำลังกายที่ดีและถูกต้องควรเป็นการออกแรง แขนขาต่อเนื่องกันเบาๆ หนักเล็กน้อย เช่น การรำมวยจีน การเดินเร็วๆ  การว่ายน้ำ  การเดินในน้ำ  หรือการปั่นจักรยานอยู่กับที่ เพื่อให้ชีพจรเต้นเร็วขึ้นจากเดิมประมาณ 20 ครั้งต่อนาที  โดยในแต่ละครั้งควรอุ่นเครื่องก่อนออกกำลังกาย  ด้วยการบริหารยืดหยุ่น ร่างกายและเดินช้าๆ  ประมาณ 5-10 นาที  หลังจากนั้นจึงค่อยๆเพิ่มการออกกำลังกาย  แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินพอดี  และก่อนที่จะหยุดออกกำลังกายให้ค่อยๆผ่อนการออกกำลังกาย ลงด้วยการเดินช้าๆ  หรือผ่อนแรงออกกำลังกายเบาๆ ประมาณ 5 -10 นาที

 

          วิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวาน
         ชนิดที่ 1 กับชนิดที่ 2

        ผู้ป่วยเบาหวานทั้ง 2 ชนิด นั้นมีวิธีการออกกำลังกายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการนำพลังงานไปใช้  และการเผาผลาญพลังงานที่แตกต่างกันนั่นเอง  โดยสามารถสรุปวิธีการที่ต่างกันได้ดังนี้

     วิธีออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 

       สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ที่สุขภาพดีทั่วไป  แพทย์แนะนำให้ออกกำลังกายทุกวัน วันละ 20 – 60 นาที  โดยให้ได้ระดับร้อยละ 50 -60 ของอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด  อย่างไรก็ตามผู้ป่วยต้องควบคุมโรคเบาหวานและการใช้ยา โดยเฉพาะอินซูลินให้ดีก่อนออกกำลังกาย ปัจจัยสำคัญข้อหนึ่งคือ  ผู้ป่วยต้องเข้าใจการปรับ เปลี่ยนการใช้ยาหรืออินซูลินของตนเอง  รวมทั้งสามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองได้ หากต้องการออกกำลังกายหนักๆ   โดยควรออกกำลังกายในช่วงเวลา  15.00- 17.00 น. หลังรับประทานอาหารว่างประมาณ 30 -60 นาที สัปดาห์ละ 3- 5 ครั้ง

       ทั้งนี้แพทย์ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายในขณะที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด  นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องแพทย์จะแนะนำให้ลดปริมาณ
การใช้อินซูลินลง

       วิธีออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

       ผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ควรดำเนินกิจกรรมแบบต่อเนื่องในระดับเหนื่อยปานกลางอย่าง น้อย 30 นาทีต่อวัน  ซึ่งหากทำต่อเนื่อง 4-6 เดือน จะส่งผลดีช่วยลดความเสี่ยง โรคแทรกซ้อนต่างๆได้บ้าง

 ทั้งนี้สำหรับผู้ป่วยทั้ง 2 ชนิด  หากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 200- 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ควรต้องออกกำลังกายภายใต้การดูแลของแพทย์  และหากมากกว่า 400  มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ไม่ควรออกกำลังกาย เพราะอาจเกิดอันตรายจาภาวะเลือด เป็นกรดสำหรับผู้ป่วยชนิดที่ 1 ได้และสำหรับผู้ป่วยที่ควบคุมโรคได้ดีอยู่แล้ว ก็ไม่ควรออกกำลังกายมากเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในท่าที่กระทบกระแทกเท้ามากเกินไป  และหากมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก  หิว  เหงื่อออก  ตาพร่ามัว  และเหนื่อยมากผิดปกติ  ควรพบแพทย์โดยเร็ว

                                                               

                 

      ข้อควรระวังในการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน 

1.ไม่ควรออกกำลังกายในช่วงที่อินซูลินกำลังออกฤทธิ์สูงสุด  และไม่ฉีดอินซูลินตรงบริเวณอวัยวะที่จะออกกำลังกาย  และเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ  ควรพกลูกอมหรือน้ำหวานติดตัว  เพื่อไว้รับประทานเมื่อมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ
2.ไม่ควรออกกำลังกายในขณะที่น้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 250 หรือต่ำกว่า 80 มิลลิกรัม เปอร์เซ็นต์
3.หากมีปัญหาความดันโลหิตสูง  เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ   หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
4.ไม่ควรออกแรงมากๆ หรือกลั้นลมหายใจในขณะออกกำลังกาย
5.ห้ามออกกำลังกายระดับหนักถ้าหากมีภาวะแทรกซ้อนทางไต  มีอาการของเซลล์ประสาทผิดปกติหรือเพิ่งเข้ารับการรักษาทางตา
6.ผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบประสาท  ให้ระวังการออกกำลังกายที่จะเกิดอันตรายต่อเท้า  เช่น  กีฬาที่ต้องปีนป่ายหรือวิ่ง  หากเดินบนพื้นขรุขระควรใส่รองเท้าที่เหมาะสม  และระวังการออกกำลังกายที่จะทำให้เกิดระดับความดันโลหิตสูงขึ้น
7.ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต  ให้ระวังการปรับตัวต่ออุณหภูมิและการขาดน้ำ  นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
 

     สนใจสั่งซื้อสินค้าโทร. 089-694-2954  LINE ID :@gtfhealthy                 

 



 

 

         โรคเบาหวาน เป็นโรคที่มีการค้นพบมาเป็นเวลานาน  และมีการพัฒนาการรักษามานานกว่า 80 ปี แต่ปัญหาผู้ป่วย เบาหวาน กลับยิ่งเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนขณะนี้ถือว่าเป็นปัญหาทางสาธารณสุขอันดับต้นๆของโลก

          ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์สมัยใหม่จึงมีการวิจัยค้นพบ สาร GTF ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้การทำงานของฮอร์โมนอินซูลินทำงานดีขึ้นถึง 240% จนเป็นที่มาของผลิตภัณฑ์ นมผง GT&F ที่สามารถใช้ บำรุงร่างกายผู้ป่วยโรค เบาหวานได้ที่ต้นเหตุของการเกิดโรค ช่วยลดน้ำตาลในเลือด และบรรเทาอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น แผลเรื้อรัง อาการไตเสื่อม ภูมิแพ้ ได้

          การค้นพบสาร GTF และการใช้ผลิตัณฑ์นมผง GT&F จึงช่วยให้การช่วยลดน้ำตาลในเลือดเพื่อบำรุงร่างกายผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ยุ่งยากอีกต่อไป

 



 

  • การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
  • ชนิดของโรคเบาหวาน
  • อาการโรคเบาหวาน
  • โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ภาวะเลือดเป็นกรด
  • แผลเรื้อรังจากเบาหวาน
  • เบาหวานกับปลายประสาทอักเสบ
  • เบาหวานกับโรคหัวใจ ความดัน และหลอดเลือด
  • เบาหวานขึ้นตา
  • เบาหวานกับโรคไต
  • เบาหวานกับเซ็กเสื่อม
  • เบาหวานกับไขมัน
  • เบาหวานกับการตัดขา
  • เบาหวานกับพุง
  • เบาหวานกับบุหรี่
  • ภาวะดื้อต่ออินซูลินและเบาหวาน
  • เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
  • หลักโภชนาการสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
  • การควบคุมอาหารผู้ป่วยเบาหวาน
  • อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
  • การออกกำลังกายผู้ป่วยเบาหวาน
  • GTF ช่วยให้การควบคุมเบาหวานเป็นเรื่องง่ายๆได้อย่างไร




  

หน้าหลัก |  ข้อมูลหน่วยงาน | องค์ประกอบที่สำคัญ | รางวัลการันตี | ติดต่อเรา 

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมายโดย www.thaigtf.com